อุปกรณ์ระบายความร้อนที่ชื่อ Cooling Tower(CT)
CT ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 2 ชนิดโดยแบ่งตามระบบการไหลของอากาศและน้ำ คือ
1.ระบบไหลสวนทางกัน (Counter Flow)
2. ระบบไหลตัดกัน( Cross Flow)
ระบบ Counter Flow นั้น ทิศทางการไหลของน้ำและอากาศจะสวนไหลสวนทางกันซึ่งเป็นการไหลที่ทำที่ทำให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนระหว่าง น้ำและอากาศได้ดีที่สุด ดุภาพประกอบเพื่อความเข้าใจ
ระบบ Cross Flow นั้น ทิศทางการไหลของอากาศเข้าจากทางด้านข้าง แล้วอากาศจะถูกดึงขึ้นด้านบนในเวลาต่อมา ซึ่งประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนจะด้อยกว่าระบบ Counter Flow แต่มีข้อดีคือ ในเรื่องของขนาดความสูงของ CT จะน้อยกว่าระบบ Counter Flow ซึ่งบางครั้งในการติดตั้งที่หน้างาน เราอาจจะร้องการเลือกใน CT ชนิดนี้เพื่อแก้ปัญหาในการติดตั้งเช่น ระยะความสูงของอาคารมีข้อจำกัด หรือเป็นความต้องการทางด้านสถาปัตยกรรม
ดูภาพประกอบสำหรับ Cooling Tower ทั้งสองชนิด
Credited Picture: http://www.liangchi.co.th
วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
การใช้พัดลม Backward Blade Type Centifugal Fan
ต่อเรื่องพัดลม(2) ครับ..สำหรับ Backward Blade
Type Centrifugal Fan ซึ่งจะเป็นชนิดที่นิยมที่สุดในระบบปรับอากาศ
และระบบระบายอากาศในปัจจุบัน
เพราะการออกแบบของใบพัดทำให้ได้แรงดันอากาศที่สูง
เมื่อเทียบกันที่ปริมาณอากาศไหลที่เท่ากัน
มาดูกันที่กราฟนะ ครับ..ประสิทธิภาพสูงสุด( 80%)อยู่ที่ ปริมาณอากาศไหล 60%ของปริมาณอากาศส่งได้ทั้งหมด และเป็นจุดที่กินพลังงานสูงสุดพร้อมทั้งให้แรงดันอากาศออกมามากที่สุด ถ้าตัดสินใจใช้จุดนี้เป็นจุดทำงาน การบำรุงรักษาต้องทำอย่างละเอียด และบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างและและการสั่นสะเทือนครับ..ซึ่งไม่เหมาะที่จะ เลือกใช้เป็น จุดทำงานของพัดลม แต่เอาไว้เป็นจุดทำ commissioning ได้ เพื่อดูประสิทธิภาพที่สามารถรีดแรงดันออกมาได้มากที่สุด..(เริ่มเข้าใกล้ เทอร์โบของรถยนต์เข้าไปทุกที่แล้ว..หยุดก่อน)..
ลองมาดูจุดที่น่าเหมาะสมกว่านี้ที่ 70 % ของปริมาณลมที่ส่งได้ทั้งหมด จะพบว่าแรงดันจะลงมาที่ 80 % ประสิทธิภาพใกล้ 80% การกินพลังงานต่ำลงมาเล็กน้อย น่าจะเป็นจุดที่สบายใจและปลอดภัย ในการใช้เป็นจุดทำงานครับ.
ข้อดีของพัดลมชนิดนี้มีอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพื้นที่กราฟที่เป็นสีเหลือง จะเห็นได้ว่าเมื่อปริมาณการส่งของอากาศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนเต็ม 100 % แต่ความต้องการพลังงานของมอเตอร์กลับลดลง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดมอเตอร์ Overload และไหม้ในที่สุดได้ครับ..
Credit ภาพ: www.toolboxengineering.com
มาดูกันที่กราฟนะ ครับ..ประสิทธิภาพสูงสุด( 80%)อยู่ที่ ปริมาณอากาศไหล 60%ของปริมาณอากาศส่งได้ทั้งหมด และเป็นจุดที่กินพลังงานสูงสุดพร้อมทั้งให้แรงดันอากาศออกมามากที่สุด ถ้าตัดสินใจใช้จุดนี้เป็นจุดทำงาน การบำรุงรักษาต้องทำอย่างละเอียด และบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในเรื่องโครงสร้างและและการสั่นสะเทือนครับ..ซึ่งไม่เหมาะที่จะ เลือกใช้เป็น จุดทำงานของพัดลม แต่เอาไว้เป็นจุดทำ commissioning ได้ เพื่อดูประสิทธิภาพที่สามารถรีดแรงดันออกมาได้มากที่สุด..(เริ่มเข้าใกล้ เทอร์โบของรถยนต์เข้าไปทุกที่แล้ว..หยุดก่อน)..
ลองมาดูจุดที่น่าเหมาะสมกว่านี้ที่ 70 % ของปริมาณลมที่ส่งได้ทั้งหมด จะพบว่าแรงดันจะลงมาที่ 80 % ประสิทธิภาพใกล้ 80% การกินพลังงานต่ำลงมาเล็กน้อย น่าจะเป็นจุดที่สบายใจและปลอดภัย ในการใช้เป็นจุดทำงานครับ.
ข้อดีของพัดลมชนิดนี้มีอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพื้นที่กราฟที่เป็นสีเหลือง จะเห็นได้ว่าเมื่อปริมาณการส่งของอากาศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนเต็ม 100 % แต่ความต้องการพลังงานของมอเตอร์กลับลดลง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้เกิดมอเตอร์ Overload และไหม้ในที่สุดได้ครับ..
Credit ภาพ: www.toolboxengineering.com
วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Forward Curve Blade Type Centrifugal Fan เป็นอย่างไร
ต่อเรื่องพัดลมครับ..เพื่อเอาไปใช้งานในการวิเคราะห์การเลือกใช้.
พัดลมขนาดใหญ่จะมีกราฟประจำทุกเครื่อง ซึ่งมาจากการทดสอบหลังจากการผลิตซึ่งเรียกหาได้จากผู้ขายครับ.
จากกราฟด้านล่างเป็นกราฟของ Forward Blade Type การใช้งานของพัดลมที่เหมาะสมต้องไม่เกิน 50 % ของปริมาณอากาศที่สามารถส่งได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นช่วงที่ประสิทธิภาพ, ความดัน และความต้องการพลังงาน (30%ของทั้งหมด) ดีที่สุด แต่ถ้าเราใช้งานเกินจุดนี้ไปจะทำให้เกิดข้อเสียต่างๆคือ
1.ความดันของอากาศที่พัดลมอัดมาไม่แรง คือไม่มีลมออกที่หัวจ่าย ทั้งๆที่พัดลมยังทำงานอยู่.
2.ประสิทธิภาพของพัดลมจะลดลงน้อยกว่า 50% คือ จ่ายไฟเพิ่มขึ้น พัดลมหมุนเร็วขึ้น มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น แต่ลมที่ออกมาไม่มีแรงดัน
3.จ่ายค่าไฟสูงขึ้นแน่นอนเพราะมอเตอร์ต้องกานกระแสไฟฟ้ามากขึ้น ตามรอบมอเตอร์ที่สูงขึ้น
ฉะนั้น. ถ้ามีการดูแลวัดประสิทธิภาพพัดลมอยู่ประจำและพิจารณาประกอบกับกราฟประจำตัว พัดลม..เราจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายพลังงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะสูงเป็นอันดับต้นๆอยู่ใน Overhead ของสถานประกอบการครับ.
Credit ภาพ. www.engineeringtoolbox.com
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
พัดลมขนาดใหญ่จะมีกราฟประจำทุกเครื่อง ซึ่งมาจากการทดสอบหลังจากการผลิตซึ่งเรียกหาได้จากผู้ขายครับ.
จากกราฟด้านล่างเป็นกราฟของ Forward Blade Type การใช้งานของพัดลมที่เหมาะสมต้องไม่เกิน 50 % ของปริมาณอากาศที่สามารถส่งได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นช่วงที่ประสิทธิภาพ, ความดัน และความต้องการพลังงาน (30%ของทั้งหมด) ดีที่สุด แต่ถ้าเราใช้งานเกินจุดนี้ไปจะทำให้เกิดข้อเสียต่างๆคือ
1.ความดันของอากาศที่พัดลมอัดมาไม่แรง คือไม่มีลมออกที่หัวจ่าย ทั้งๆที่พัดลมยังทำงานอยู่.
2.ประสิทธิภาพของพัดลมจะลดลงน้อยกว่า 50% คือ จ่ายไฟเพิ่มขึ้น พัดลมหมุนเร็วขึ้น มอเตอร์หมุนเร็วขึ้น แต่ลมที่ออกมาไม่มีแรงดัน
3.จ่ายค่าไฟสูงขึ้นแน่นอนเพราะมอเตอร์ต้องกานกระแสไฟฟ้ามากขึ้น ตามรอบมอเตอร์ที่สูงขึ้น
ฉะนั้น. ถ้ามีการดูแลวัดประสิทธิภาพพัดลมอยู่ประจำและพิจารณาประกอบกับกราฟประจำตัว พัดลม..เราจะสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายพลังงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะสูงเป็นอันดับต้นๆอยู่ใน Overhead ของสถานประกอบการครับ.
Credit ภาพ. www.engineeringtoolbox.com
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
การเลือกใช้พัดลมแบบ Centrifugal ในระบบปรับอากาศ
การเลือกใช้พัดลมแบบ Centrifugal ในระบบปรับอากาศที่นิยมใช้มี 2 ชนิดคือ
1.Forward Curved Blade Fan.(FW)
2.Backward Curved Blade Fan.(BW)
จุดน่าสนใจ
1.FW จะราคาถูกกว่า BW
2.ความต้องการพลังงาน(BHP) ของFW Type จะสูงขึ้นตาม CFM ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้ Motor ที่ขับพัดลมเกิดการ Overload ได้ ถ้าเกินกว่าความสามารถของ Motor
3.ความต้องการาพลังงาน(BHP) ของ BW Type จะสูงถึงจุดหนึ่งแล้วลดต่ำลง ถึงแม้ว่า CFM จะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆก็ตาม ซึ่งจะป้องกัน Motor ที่ขับพัดลมไม่เกิดการ Overload ระบบจะยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
* กราฟเส้นเหลืองใน FW พุ่งขึ้นไม่หยุด จึงเป็นเหตุให้ Overload ที่ Motor ได้ ถ้าไม่ตั้ง Overload Protection ไว้ จะทำเกิด Motor ไหม้ได้ครับ...ข้อควรระวัง
ฉะนั้นในระบบปรับอากาศที่ต้องการความเชื่อมั่น ( Reliability) ที่ระดับสูง ควรเลือกใช้ BW Type จะเหมาะสมกว่า..แต่ต้องแลกด้วยราคาที่สูงกว่า
Credit ภาพ.www.engineeringtoolbox.com
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
1.Forward Curved Blade Fan.(FW)
2.Backward Curved Blade Fan.(BW)
จุดน่าสนใจ
1.FW จะราคาถูกกว่า BW
2.ความต้องการพลังงาน(BHP) ของFW Type จะสูงขึ้นตาม CFM ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลให้ Motor ที่ขับพัดลมเกิดการ Overload ได้ ถ้าเกินกว่าความสามารถของ Motor
3.ความต้องการาพลังงาน(BHP) ของ BW Type จะสูงถึงจุดหนึ่งแล้วลดต่ำลง ถึงแม้ว่า CFM จะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆก็ตาม ซึ่งจะป้องกัน Motor ที่ขับพัดลมไม่เกิดการ Overload ระบบจะยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
* กราฟเส้นเหลืองใน FW พุ่งขึ้นไม่หยุด จึงเป็นเหตุให้ Overload ที่ Motor ได้ ถ้าไม่ตั้ง Overload Protection ไว้ จะทำเกิด Motor ไหม้ได้ครับ...ข้อควรระวัง
ฉะนั้นในระบบปรับอากาศที่ต้องการความเชื่อมั่น ( Reliability) ที่ระดับสูง ควรเลือกใช้ BW Type จะเหมาะสมกว่า..แต่ต้องแลกด้วยราคาที่สูงกว่า
Credit ภาพ.www.engineeringtoolbox.com
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
ชนิดของหม้อไอน้ำที่นิยมใช้
การใช้หม้อไอน้ำอย่างปลอดภัย เริ่มต้นจากการเลือกใช้หม้อไอน้ำที่มีการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม และ มีการผลิตที่ได้ตามข้อกำหนด ของมาตราฐานต่างๆที่ใช้สำหรับ การผลิต หม้อไอน้ำ และ สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ การใช้งานและการตรวจสอบบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี
ซึ่งการทำงานของหม้อไอน้ำ จะมีหลักการคือการต้มน้ำให้เดือดจนกลายเป็นไอน้ำ แล้วนำไอน้ำที่มีพลังงาน ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับกระบวนการผลิตที่ต้องการความร้อนสูง ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ตามบ้านเรือน และใช้สำหรับทำน้ำร้อนสำหรับใช้ในห้องน้ำตามโรงแรม หรือที่พักอาศัยขนาดใหญ่ เป็นต้น
ประเภทของหม้อไอน้ำแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ๆคือ
1.หม้อไอน้ำแบบ ท่อไฟ (Fire Tube) เป็นหม้อไอน้ำที่มีไฟวิ่งอยู่ภายในท่อ และแช่อยู่ภายในถังหรือภาชนะรับแรงดันที่บรรจุน้ำ ซึ่งความสามารถในการผลิตไอน้ำจะอยู่ที่ ไม่เกิน 20 kg/sq.m และค่าความดันไม่เกิน 20 bars. ซึ่งหม้อน้ำที่ใช้ในไทยจะเป็นแบบชนิดนี้ ดังภาพประกอบด้านล่าง
2.หม้อไอน้ำแบบ ท่อน้ำ ( Water Tube) เป็นหม้อไอน้ำที่มีน้ำวิ่งอยู่ภายในท่อ ส่วนเปลวไฟได้จากการเผาไหม้จะอยู่บริเวณภายนอกรอบๆท่อ หม้อน้ำชนิดนี้ จะให้ความดันของไอน้ำที่สูงกว่าชนิดแรก เพราะไอน้ำจะวิ่งอยู่ในท่อ ดังภาพประกอบด้านล่าง
ซึ่งการทำงานของหม้อไอน้ำ จะมีหลักการคือการต้มน้ำให้เดือดจนกลายเป็นไอน้ำ แล้วนำไอน้ำที่มีพลังงาน ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับกระบวนการผลิตที่ต้องการความร้อนสูง ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ตามบ้านเรือน และใช้สำหรับทำน้ำร้อนสำหรับใช้ในห้องน้ำตามโรงแรม หรือที่พักอาศัยขนาดใหญ่ เป็นต้น
ประเภทของหม้อไอน้ำแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ๆคือ
1.หม้อไอน้ำแบบ ท่อไฟ (Fire Tube) เป็นหม้อไอน้ำที่มีไฟวิ่งอยู่ภายในท่อ และแช่อยู่ภายในถังหรือภาชนะรับแรงดันที่บรรจุน้ำ ซึ่งความสามารถในการผลิตไอน้ำจะอยู่ที่ ไม่เกิน 20 kg/sq.m และค่าความดันไม่เกิน 20 bars. ซึ่งหม้อน้ำที่ใช้ในไทยจะเป็นแบบชนิดนี้ ดังภาพประกอบด้านล่าง
2.หม้อไอน้ำแบบ ท่อน้ำ ( Water Tube) เป็นหม้อไอน้ำที่มีน้ำวิ่งอยู่ภายในท่อ ส่วนเปลวไฟได้จากการเผาไหม้จะอยู่บริเวณภายนอกรอบๆท่อ หม้อน้ำชนิดนี้ จะให้ความดันของไอน้ำที่สูงกว่าชนิดแรก เพราะไอน้ำจะวิ่งอยู่ในท่อ ดังภาพประกอบด้านล่าง
ที่มาของภาพ: http://novathermboiler.com/
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557
พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ มีประโยชน์อย่างไร
พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ มีประโยชน์อย่างไร..
พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ สามารถนำมาใช้ในการทำน้ำร้อนหรืออุ่นอากาศ สำหรับใช้ในระบบปรับอากาศให้มีอุณหภูมิตามที่ต้องการได้ เพื่อช่วยในการประหยัดพลังงานความร้อนของหม้อต้มน้ำ(Boiler) หรือ เตา(Furnaces) ข้อดีของพลังงานชนิดนี้คือ เป็นพลังงานที่มีอยู่แล้วในโลกเรา แต่ก็มีข้อเสียคือ เราต้องเสียค่าติดตั้งอุปกรณ์ และค่าอุปกรณ์ในการดึงพลังงานและการจัดเก็บพลังงานให้สามารถใช้งานอยู่ได้นานๆแต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าในสภาวะปัจจุบันราคาของพลังงานความร้อนที่เราใช้อยู่ เช่น น้ำมัน หรือ ก๊าซธรรมชาติ มีราคาที่สูงขึ้น ขณะที่ปริมาณมีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้การใช้พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์เข้ามาทดแทนการใช้พลังงานแบบเดิมสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลายประเทศ เช่น Japan Isarael Australia Germany ได้มีการนำพลังงานความร้อนชนิดนี้เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน และ ในอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต กันอย่างแพร่หลาย สำหรับในประเทศไทยของเรา ก็เริ่มเห็นมีการนำเข้ามาใช้ เช่น ในระบบสัญญาณไฟจราจร, ในการอุ่นน้ำเพื่อใช้ในระบบน้ำร้อนของโรงแรม เป็นต้น.
Link สำหรับเรื่อง พลังงานแสงอาทิตย์ แนบด้านล่าง สำหรับความเข้าใจแบบง่ายครับ.
http://www.youtube.com/watch?v=NDZzAIcCQLQ
http://www.youtube.com/watch?v=x4CTceusK9I
Credit: www.youtube.com
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่.https://www.facebook.com/profile.php?id=100006197296281
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)